ส่วนประกอบของกระสุนปืน

ส่วนประกอบของกระสุนปืน ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ



          1. หัวกระสุน (Bullet) เป็นวัสดุที่ทำด้วยตะกั่ว อาจจะเคลือบด้วยโลหะทองแดงเพื่อเพิ่มความแข็งก็แล้วแต่ ซึ่งจะมีหลายหลากตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งจะได้พูดกันต่อไป หัวกระสุนจะเป็นส่วนที่เราจะเอาไปฝากไว้ในร่างกายของใครซักคนที่มุ่งจะทำร้ายชีวิตและทรัพย์สินของเรานั่นเอง

          2. ดินขับ (Powder) เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติติดไฟได้ง่าย ดินปืนเมื่อติดไฟจะทำให้อากาศขยายตัวเกิดแรงดันจำนวนมาก เพื่อส่งหัวกระสุนออกไปยังเป้าหมายที่ปลายกระบอกได้เล็งไว้

          3. แก๊ป (Primer) ใครที่เล่นปืนแก๊ปสมัยเด็กๆ ก็จะเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้น แก๊ปเป็นวัตถุระเบิดประเภทหนึ่งแต่มีขนาดเล็กมาก จะเกิดระเบิดเมื่อได้รับแรงกระแทก ซึ่งโดยปกติก็จะเป็นหน้าที่ของเข็มแทงชนวนภายในปืนที่มากระแทกเมื่อเราลั่นไกปืนนั่นเอง ประกายไฟจากการระเบิดของแก๊ปจะทำให้ดินปืนเกิดการเผาไหม้เพื่อสร้างแรงดันส่งหัวกระสุนออกไปอีกต่อหนึ่ง

          4. ปลอกกระสุน (Bullet Case) ทำหน้าที่เป็นตัวรวบรวมชิ้นส่วนที่ 1, 2 และ 3 ที่กล่าวไว้ข้างต้นเอาไว้ด้วยกันนั่นเอง ซึ่งเราสามารถคาดคะเนความแรงของกระสุนปืนได้จากขนาดของปลอกกระสุนได้


ดินปืน

     สารเคมีที่มีคุณสมบัติให้พลังงานสูงเมื่อเกิดการเผาไหม้แล้วให้พลังงานสูง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

          1. วัตถุระเบิด (Explosive) คือ สารที่เมื่อสลายตัวเเล้วให้แก๊สร้อนจำนวนมาก และรวดเร็ว

          2. ดินขับ(Propellant) ดินขับก็คือสารที่ให้พลังงานสูงเช่นเดียวกับวัตถุระเบิด แต่สลายตัวช้ากว่า การเผาไหม้ก็เกิดขึ้นนานกว่า จัดว่าเป็นการลุกไหม้อย่างรุนแรง แต่ให้ความดันต่ำกว่าการระเบิด

          3. ไพโรเทคนิค(pyrotechnic) คือสารที่มีการสลายตัวคล้ายกับดินขับ แต่จะให้แสงสว่างมากกว่า เช่น พลุ เป็นต้น


          ดินปืนที่ถูกบรรจุอยู่ภายในปลอกกระสุน จัดอยู่ในกลุ่มของดินขับนั่นเอง สมัยแรกเริ่มเดิมทีนั้น ดินขับที่ใช้ส่งหัวกระสุนออกไปยังเป้าหมายนั้นจะใช้ "ดินดำ (Black Powder)" ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้เป็น "ดินควันน้อย (Smokeless Powder)" แทน แล้วระหว่างดินดำ กับดินควันน้อย มันมีข้อแตกต่างกันอย่างไร ดังจะได้อธิบายต่อไป


ดินดำ

        ว่ากันว่าในสมัยก่อน ดินดำ เป็นดินปืนชนิดเดียวที่มนุษย์จะสามารถรังสรรค์ขึ้นมาได้ เพื่อใช้เป็นดินขับของกระสุนปืน โดยประกอบด้วย ดินประสิว กำมะถัน และถ่าน

        กำมะถันและถ่านจะถูกเผาไหม้ได้ดีถ้ามีอ็อกซิเจนเพียงพอ เป็นเหมือนคู่สร้างคู่สม ดินประสิวนั้นเป็นสารที่มีอ็อกซิเจนเป็นจำนวนมากอยู่ในตัวของมัน และจะคายอ็อกซิเจนออกมาเมื่อได้รับความร้อน เมื่อทั้ง 3 มาเจอกันและมีการเผาไหม้เกิดขึ้น ก็จะเกิดการขยายตัวของก๊าซอย่างรวดเร็ว เป็นแรงดันมหาศาลที่จะขับดันหัวกระสุนให้พุ่งออกไป


ดินควันน้อย

        หรือเรียกกันในปัจจุบันว่า ดินขับหรือดินส่งกระสุน ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะกับการนำไปใช้ในแต่ละงานมากขึ้น ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก คือ ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose) เป็นแหล่งให้ก๊าซร้อนและแรงดัน โดยจะแบ่งเป็นอีกหลายชนิด เช่น ดินขับฐานเดี่ยว ฐานคู่ และฐานสาม เป็นต้น ซึ่งแต่ละแบบก็มีส่วนผสม และความรุนแรงแตกต่างกันไป แต่สำหรับกระสุนปืนเล็กที่เราพูดถึงกันนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ดินขับฐานเดี่ยวเป็นหลัก


        ส่วนข้อแตกต่างของดินดำ และดินควันน้อยนั้น เมื่อนำดินดำและดินควันน้อยในปริมาณเท่าๆ กันมากองไว้ในที่กลางแจ้งแล้วเอาไฟจุด จะพบว่าดินดำเกิดการระเบิดและส่งควันออกมากมาย แต่ดินควันน้อยนั้นลุกไหม้เรื่อยๆ และจะมีควันออกมาบ้างเล็กน้อย  จะเห็นว่าในที่กลางแจ้งซึ่งอากาศถ่ายเทได้โดยสะดวกนั้น ดินควันน้อยดูไม่มีพิษสงน่ากลัว แต่ถ้านำไปอัดในที่จำกัดเช่นในลำกล้องปืน ดินนี้จะกลายเป็นดินซึ่งลุกไหม้และแปรสภาพเป็นก๊าซได้โดยว่องไว  ส่งกำลังได้สูงกว่าดินดำหลายเท่า


การระเบิดของดินดำ

การเผาไหม้ของดินควันน้อย

แก๊ป

        แก๊ป หรือ Primer ถือว่าเป็นวัตถุระเบิดประเภทหนึ่ง ทำมาจากสารเคมีหลายอย่างผสมกัน เช่น ลีดสไตเนต (Lead Styphnate) เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรงงานก็จะมีสูตรลับเป็นของตัวเอง สารตัวนี้จะจุดตัวได้ไว การกระแทกเพียงเล็กน้อยก็สามารถจุดตัวเองได้เเล้ว เลยถูกนำมาเป็นตัวจุดระเบิดดินขับให้เกิดการเผาไหม้ ด้วยหลักการทำงานง่ายๆ นั่นคือการใช้แรงกระแทกจากเข็มแทงชนวนที่พุ่งมาชนเมื่อเราเหนี่ยวไก ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นนั่นเอง


ส่วนประกอบของแก๊ป ประกอบด้วย 4 ส่วนประกอบ ดังนี้


           1. จอกแก๊ป (Primer Cup) สำหรับบรรจุส่วนประกอบต่างๆ ของแก๊ป

          2. ดินระเบิด (Priming Mixture) เป็นวัตถุระเบิดที่มีความไวสูง

          3. กระดาษหรือผ้าสำหรับปิดหน้าดิน (Foil Paper) เพื่อป้องกันไม่ให้ดินระเบิดหลุดออกจากจอกแก๊ป

          4. ทั่ง (Anvil) เป็นตัวรับแรงกระแทกจากเข็มแทงชนวน


           การทำงานก็เป็นอย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว นั่นคือเมื่อเราลั่นไก เข็มแทงชนวนจะวิ่งไปกระแทกเข้ากับฐานของจอกแก๊ป ฐานจอกแก๊ปก็จะยุบตัวไปชนกับทั่ง จนทำให้ดินระเบิดเกิดระเบิดขึ้นมา ประกายไฟที่เกิดจากการระเบิดจะพุ่งผ่านรูที่เจาะไว้ (Flash Hole) ไปยังดินขับ ดินขับก็จะเกิดการเผาไหม้ต่อไปนั่นเอง


ปลอกกระสุน

        สำหรับปลอกกระสุนนั้น ทำหน้าที่รวมเอาส่วนประกอบทั้งหมดของกระสุนปืน ไม่ว่าจะเป็นหัวกระสุน ดินขับ และแก๊ปเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งปลอกกระสุนมักจะทำด้วยโลหะทองเหลือง และต้องทนต่อแรงดันที่เกิดจากดินขับได้ ซึ่งถ้าปลอกกระสุนไม่มีคุณภาพแล้ว เมื่อกระสุนถูกยิง ปลอกกระสุนอาจเกิดอาการบวมติดอยู่ในรังเพลิงของปืนก็เป็นได้

        ขนาดของปลอกกระสุนสามารถบอกความแรงของกระสุนได้ในระดับหนึ่ง นั่นคือ ปลอกกระสุนยิ่งใหญ่ แสดงว่าสามารถบรรจุดินขับได้เยอะ นั่นหมายถึง แรงดันที่จะส่งหัวกระสุนออกไปก็จะมีมากตามปริมาณของดินปืนด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ ขนาดของปลอกกระสุนก็ไม่สามารถบอกความแรงของกระสุนได้เสมอไป เพราะบางครั้งกระสุนที่ใช้ปลอกกระสุนยาว กลับให้พลังงานในการยิงน้อยกว่าปลอกกระสุนสั้น เนื่องจากไม่ได้บรรจุดินขับเต็มปลอกกระสุนนั่นเอง


       สำหรับส่วนประกอบของปลอกกระสุน คือ

          1. ฐานกระสุน (Rim) ส่วนใหญ่ขนาดของกระสุน และชื่อผู้ผลิตกระสุน จะถูกตอกเอาไว้ที่ฐานกระสุน

          2. ร่องขอเกี่ยวปลอก (Extractor Groove) เป็นส่วนคอดที่อยู่ใกล้ฐานกระสุน มีไว้สำหรับให้ขอเกี่ยวปลอกที่อยู่ในตัวปืน สามารถเกี่ยวปลอกกระสุนเพื่อดึงปลอกกระสุนออกจากรังเพลิงไปยังตัวเตะปลอก ให้ปลอกกระสุนกระเด็นออกจากปืนต่อไป


ร่องขอเกี่ยวปลอก

ฐานกระสุน

การบรรจุกระสุนจะต้องทำทีละขั้นตอน คือ

     1. กรอกดินขับลงไปทางปากลำกล้อง ใส่หมอนรองซึ่งอาจจะเป็นกระดาษ กาบมะพร้าว หรือวัสดุอื่น แล้วอัดให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ดินมาผสมกับหัวกระสุน และเป็นการกักแก๊สให้ผลักดันหัวกระสุนได้เต็มที่

     2. ใส่หัวกระสุนลงไปตามต้องการ จะใช้เป็นเม็ดเดียว หรือจะใส่หลายๆเม็ดแบบลูกซองก็ได้

     3. ใส่หมอนปิดหน้ากระสุนอัดให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้กระสุนไหลออกทางปากลำกล้องเวลาชี้ปลายลำกล้องลง

     4. หากต้องการยิงก็ง้างนกสับขึ้นเอาแก๊ปวางลงไปตรงช่องใส่แก๊ป พอเหนี่ยวไกนกสับก็จะไปฟาดท้ายแก๊ป ประกายไฟก็จะวิ่งผ่านช่องดินหู (รูที่เจาะเพื่อให้ประกายไฟผ่าน) ไปจุดดินขับที่อัดเอาไว้ ถ้าจะยิงนัดที่สองก็ต้องเริ่มทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกใหม่ ซึ่งทำให้ยิงซ้ำได้ช้า


จําหน่ายอาวุธปืนนอกแท้นําเข้า.com | ขายปืนมือสอง | ขายปืนหลุดจำนำ | ขายปืนนอกแท้ | ขายปืนทุกประเภท