พกปืนอย่างไรจึงไม่ผิดกฎหมาย

พกปืนอย่างไรจึงไม่ผิดกฎหมาย


                        
เรื่องอาวุธปืนกับผู้ชาย โดยเฉพาะชายชาติทหารนั้นเป็นของคู่กันมานานแล้ว ถึงแม้ว่าทหารหน่วยรบจะได้คุ้นเคยกับอาวุธปืนมากกว่าทหารหน่วยสนับสนุนการรบ เพราะได้รับการฝึกฝนและทําการฝึกศึกษาและมีโอกาสใช้อาวุธปืนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าทหารหน่วยใดต่างนิยมชมชอบซื้ออาวุธปืนพก พร้อมทั้งกระสุนปืนมาไว้ในครอบครองเพื่อป้องกันตนเองและทรัพย์สิน เมื่อมีอาวุธปืนเป็นของตนเองแล้วมักจะมีปัญหาสอบถาม โต้เถียงกันอยู่เสมอๆ ในเรื่องการพกพาอาวุธปืน บางคนกล่าวว่ามีอาวุธปืนเป็นของตนเอง แต่ไม่มีใบพก (ป.๑๒) อย่ามีเสียเลยดีกว่า บางคนกล่าวว่าถึงแม้จะมีใบพกปืน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพกพาอาวุธปืนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ หรือทุกกิริยาอาการ
การที่จะพกอาวุธปืนได้โดยไม่ผิกฎหมายนั้น น่าจะมีหลักเกณฑ์ที่สําคัญ ๓ ประการ คือ
๑ เป็นอาวุธปืนของตนเองและได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย (มีใบ ป.๔) หรือจะเขียนเต็มๆ “ปืนมีทะเบียนและเป็นปืนของตนเอง”
๒ ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว หรือกล่าวโดยย่อว่า “มีใบพก” (มีใบ ป.๑๒)
๓ ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายกําหนด หรือ “พกโดยข้อยกเว้นของกฎหมาย”
- หลักเกณฑ์ประการแรกคือ “ปืนมีทะเบียนและเป็นปืนของตนเอง” อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคลนั้น ผู้ใดประสงค์จะซื้อต้องปฎิบัติตามกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ กล่าวคือต้องขอรับใบอนุญาตตามแบบ ป.๑, มีใบอนุญาตให้ซื้อตามแบบ ป.๓ และมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ตามแบบ ป.๔ การออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนนั้น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ กําหนดให้ออกได้ใน ๓ กรณีเท่านั้น คือ
๑. สําหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน
๒. ใช้สําหรับการกีฬา
๓. สําหรับใช้ในการล่าสัตว์
แต่มีบางประเด็นในเรื่องปืนมีทะเบียนที่หลายคนยังเข้าใจคลาดเคลื่อนไป กล่าวคือ เข้าใจว่าปืนมีทะเบียนย่อมเป็นปืนที่ถูกกฎหมายเสมอ ไม่ว่าใครจะนําไปใช้หรือครอบครองไว้ จึงปรากฎอยู่เสมอว่าทหารบางคน นําปืนมีทะเบียนของผู้อื่นมาไว้ในครอบครองโดยเข้าใจผิดว่าไม่ผิดกฎหมาย จนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจจับกุมก็ยังโต้เถียงว่าไม่ผิด เรื่องนี้ขอเรียนว่า ตามหลักกฎหมายใน พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ นั้น การออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่ออกให้กับผู้มีชื่อในใบ ป.๔ และออกให้ ๑ ใบ ต่ออาวุธปืน ๑ กระบอกเท่านั้น ผู้อื่นแม้จะเป็นบุตร ภรรยาก็ไม่อาจใช้สิทธินั้นได้ ดังนั้นการที่ทหารมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครอง กล่าวคือถ้าปืนที่มีไว้ในครอบครอง เป็นปืนที่ไม่มีทะเบียน (บางท่านเรียกว่า “ปืนเถื่อน”) ผู้ครอบครองจะต้องรับโทษน้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง คือต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ ๖ เดือน-๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๑,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท

จําหน่ายอาวุธปืนนอกแท้นําเข้า.com | ขายปืนมือสอง | ขายปืนหลุดจำนำ | ขายปืนนอกแท้ | ขายปืนทุกประเภท